สาระสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา
สาร สาระสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา
ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาสำคัญ
ๆ ว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเกือบทุกประเทศในโลกเป็นสมาชิกเช่น
อนุสัญญากรุงเบิร์น (Berne Convention) ความตกลง
TRIPs (Agreement on Trade -Related Aspects of
Intellectual Property Rights) WTO และ GATT เป็นต้น
ซึ่งประเทศไทยได้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องและเป็นไปตามอนุสัญญาหรือความตกลงดังกล่าวเรื่อยมา
บทบาทและความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นคนละสิทธิหรือการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น เช่น ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าขอหนังสือซึ่งจับต้องได้ สิทธิบัตรในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์จะแยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
ดังนั้น เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ จึงมีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้นได้
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นคนละสิทธิหรือการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น เช่น ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าขอหนังสือซึ่งจับต้องได้ สิทธิบัตรในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์จะแยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
ดังนั้น เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ จึงมีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้นได้
ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาที่เรารู้จักกันอยู่บ้างแล้วในปัจจุบันมี ๓ ประเภท คือ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า ส่วนทรัพย์สินทางปัญญาที่กฎหมายเพิ่งจะออกมาคุ้มครองเมื่อปลายปี ๒๕๔๒ มีอยู่ ๒ ประเภท คือ การคุ้มครองพันธุ์พืช กับการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และเมื่อกลางปี ๒๕๔๓ คือ การคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม สำหรับทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น ๆ เช่นความลับทางการค้า ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทต่างมีความหมายและขอบเขตการคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป
ทรัพย์สินทางปัญญาที่เรารู้จักกันอยู่บ้างแล้วในปัจจุบันมี ๓ ประเภท คือ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า ส่วนทรัพย์สินทางปัญญาที่กฎหมายเพิ่งจะออกมาคุ้มครองเมื่อปลายปี ๒๕๔๒ มีอยู่ ๒ ประเภท คือ การคุ้มครองพันธุ์พืช กับการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และเมื่อกลางปี ๒๕๔๓ คือ การคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม สำหรับทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น ๆ เช่นความลับทางการค้า ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทต่างมีความหมายและขอบเขตการคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป
ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท
ทรัพย์สินทางปัญญาอาจจะให้ความหมายอย่างกว้าง ๆ ว่าหมายถึงผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ จึงนับเนื่องเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากสติปัญญาของมนุษย์ตามชื่อ ทรัพย์สินทางปัญญานั่นเอง
ทรัพย์สินทางปัญญาอาจจะให้ความหมายอย่างกว้าง ๆ ว่าหมายถึงผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ จึงนับเนื่องเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากสติปัญญาของมนุษย์ตามชื่อ ทรัพย์สินทางปัญญานั่นเอง
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ลิขสิทธิ์เป็นผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์อันเกิดจากการริเริ่มของตนเอง ใช้ความ ชำนาญความวิริยะอุตสาหะ ในการสร้างสรรค์และมีที่มาจากผู้สร้างสรรค์เอง ซึ่งหมายถึงไม่ได้ลอกเลียนงานของผู้อื่นนั่นเอง งานอันมีลิขสิทธิ์แบ่งออกเป็น ๙ ประเภท คือ
ลิขสิทธิ์เป็นผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์อันเกิดจากการริเริ่มของตนเอง ใช้ความ ชำนาญความวิริยะอุตสาหะ ในการสร้างสรรค์และมีที่มาจากผู้สร้างสรรค์เอง ซึ่งหมายถึงไม่ได้ลอกเลียนงานของผู้อื่นนั่นเอง งานอันมีลิขสิทธิ์แบ่งออกเป็น ๙ ประเภท คือ
๑) งานวรรณกรรม เช่น ตำรา บทความ นวนิยาย คำบรรยาย โปรแกรมคอมพิวเตอร์
๒) งานนาฏกรรม เช่น
โขนรามเกียรติ์
๓) งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม (งานวาดเขียน) งานประติมากรรม (แกะสลัก, ปั้น)
งานศิลปประยุกต์ (โคมไฟ, หัวเข็มขัด, ตุ๊กตา, เพชรพลอย)
๔) งานดนตรีกรรม ได้แก่ งานทำนองเพลง
๕) งานโสตทัศนวัสดุ เช่น VDO, VCD, DVD, งานภาพยนตร์
๖) วิทยาศาสตร์ ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี การทดลอง
๗)
งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง, CD เพลง
๘)
งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น
งานเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือผ่าน ดาวเทียม
๙)
งานอื่นในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์
หรือศิลปะ กฎหมายคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์เมื่อสร้างสรรค์งานขึ้น
เป็นการคุ้มครองโดยอัตโนมัติ ไม่มีแบบพิธีในการจดทะเบียน๓
ส่วนอายุการคุ้มครองมีตั้งแต่ ๒๕ ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
จนถึงตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และอีก ๕๐ ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
ส่วนงานที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ได้แก่ ข่าวประจำวัน, กฎหมาย, ระเบียบหรือคำสั่งของทางราชการ,
คำพิพากษาของศาล ฯลฯ
ส่วนงานที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ได้แก่ ข่าวประจำวัน, กฎหมาย, ระเบียบหรือคำสั่งของทางราชการ,
คำพิพากษาของศาล ฯลฯ
สิทธิบัตร (Patent)
สิทธิบัตรเป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เกี่ยวกับการประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ การประดิษฐ์ หมายถึง การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นเกี่ยวกับลักษณะ องค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกลของผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ รวมทั้งกรรมวิธีต่าง ๆ ในการผลิต เก็บรักษาหรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
สิทธิบัตรเป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เกี่ยวกับการประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ การประดิษฐ์ หมายถึง การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นเกี่ยวกับลักษณะ องค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกลของผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ รวมทั้งกรรมวิธีต่าง ๆ ในการผลิต เก็บรักษาหรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
เช่น เครื่องจักรกล ของใช้ใน ชีวิตประจำวัน
และสารประกอบเคมีต่างๆ ซึ่งกรณีนี้ รวมถึงการนำสารสกัดจากสมุนไพร “กวาวเครือ” ไปเป็นส่วนผสมกับสารอื่นด้วย นอกจากนี้
ยังรวมถึงกรรมวิธีใหม่ๆ เช่น วิธีการเก็บรักษา หรือวิธีใช้ผลิตภัณฑ์
และกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม และการพัฒนาให้กรรมวิธีที่มีอยู่ดั้งเดิมแล้วดีขึ้น
ข้อสำคัญ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ว่ามานั้น
ต้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรมได้ด้วย
๒) อนุสิทธิบัตร
เป็นการคุ้มครองการประดิษฐ์อย่างง่าย
ๆ ที่ไม่ซับซ้อน (เช่น มุ้งลวดแบบม้วน, ไม้จิ้มฟันชนิดที่หักงอเป็นมุม)
๓)
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
ซึ่งมีความหมายรวมถึงบรรจุภัณฑ์ด้วย
กฎหมายคุ้มครองสิทธิบัตรก็ต่อเมื่อมีการขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร และทางราชการได้ออกสิทธิบัตร
หรืออนุสิทธิบัตรให้แล้ว ไม่ได้คุ้มครองโดยอัตโนมัติ
ส่วนอายุคุ้มครองนั้นมีตั้งแต่ ๖ ปี ถึง ๒๐ ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตร
การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรไม่ได้ ได้แก่
จุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์หรือพืช กฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการวินิจฉัย บำบัด
หรือรักษาโรคมนุษย์หรือสัตว์ ฯลฯ ส่วนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้
ได้แก่ แบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น
แบบผลิตภัณฑ์ลามกอนาจาร ฯลฯ
เครื่องหมายการค้า เป็นเครื่องหมายที่ใช้กำกับสินค้าเพื่อแยกแยะว่าสินค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
คนทั่วไปมักจะเรียกเครื่องหมายการค้าว่ายี่ห้อ หรือ
แบรนด์เนม
(ในความหมายที่เป็นยี่ห้อที่มีชื่อเสียงแล้ว
เดิมเครื่องหมายการค้ามี ๒ ประเภท
คือ เครื่องหมาย รูป และเครื่องหมาย คำ แต่ปัจจุบัน มีเครื่องหมายประเภทกลุ่มของสี
รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุด้วย
ตามปกติกฎหมายคุ้มครองอย่างเต็มที่เฉพาะเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
และมีอายุคุ้มครอง ๑๐ ปี แต่ต่ออายุได้คราวละ ๑๐ ปีและต่อได้เรื่อย ๆ
๑.เครื่องหมายการค้า
(Trademarks)
เครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้ หรือจะใช้เป็นที่หมาย หรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
เครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้ หรือจะใช้เป็นที่หมาย หรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
๒.เครื่องหมายบริการ
เครื่องหมายบริการ หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้ หรือจะใช้เป็นที่หมาย หรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น
เครื่องหมายบริการ หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้ หรือจะใช้เป็นที่หมาย หรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น
๓.เครื่องหมายรับรอง
เครื่องหมายรับรอง หมายความว่า
เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้ หรือจะใช้เป็นที่หมาย
หรือเกี่ยวข้องกับสินค้า และบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด
ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพหรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้านั้น
หรือเพื่อรับรองเกี่ยวกับสภาพคุณภาพ ชนิดหรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น
๔. เครื่องหมายร่วม
เครื่องหมายร่วม หมายความว่า เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการที่ใช้ หรือจะใช้โดยบริษัท หรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐ หรือเอกชน
เครื่องหมายร่วม หมายความว่า เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการที่ใช้ หรือจะใช้โดยบริษัท หรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐ หรือเอกชน
การคุ้มครองพันธุ์พืช
(Plant variety right protection)
เหตุที่มีการคุ้มครองพันธุ์พืชเพราะต้องการ ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงพันธุ์และพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อให้มีพันธุ์พืชใหม่เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม โดยการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจด้วยการให้สิทธิและความคุ้มครองตามกฎหมาย เป็นการคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ (Creative ideas) ของนักปรับปรุงพันธุ์พืชที่ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะและปัญญาในการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชขึ้นมาใหม่ และจัดเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินทางปัญญาได้
เหตุที่มีการคุ้มครองพันธุ์พืชเพราะต้องการ ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงพันธุ์และพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อให้มีพันธุ์พืชใหม่เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม โดยการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจด้วยการให้สิทธิและความคุ้มครองตามกฎหมาย เป็นการคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ (Creative ideas) ของนักปรับปรุงพันธุ์พืชที่ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะและปัญญาในการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชขึ้นมาใหม่ และจัดเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินทางปัญญาได้
การคุ้มครองตำหรับหยาและตำราการแพทย์แผนไทย
ตำรับยาแผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทยจัดเป็นภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และเพิ่งได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมจากพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒๑๒ ยาแผนไทยเป็นยาที่ได้จากสมุนไพรโดยตรง หรือผสม ปรุง แปรสภาพสมุนไพร ส่วนการแพทย์แผนไทยนั้น เป็นกระบวนการทางการแพทย์โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา
ตำรับยาแผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทยจัดเป็นภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และเพิ่งได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมจากพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒๑๒ ยาแผนไทยเป็นยาที่ได้จากสมุนไพรโดยตรง หรือผสม ปรุง แปรสภาพสมุนไพร ส่วนการแพทย์แผนไทยนั้น เป็นกระบวนการทางการแพทย์โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา
การคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม(Protection of Layout - Designs of Integrated
Circuits)
เหตุผลที่มีการคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวมก็คือ
เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า
(TRIPs) ในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO)
ความลับทางการค้า (Trade secret)
ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติความลับทางการค้าอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ได้ออกใช้บังคับเป็นกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ตามร่างกฎหมายดังกล่าว ความลับทางการค้า เช่น สูตรหรือเคล็ดลับของธุรกิจการค้า ข้อมูลที่เป็นรายชื่อหรือรายการเกี่ยวกับลูกค้าในธุรกิจประเภทต่าง ๆ ได้รับการคุ้มครองมิให้บุคคลอื่นนำไปเปิดเผยหรือใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ทรงสิทธิ ความลับทางการค้าที่จะได้รับการคุ้มครองนั้นผู้ควบคุมความลับดังกล่าวจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่สมควรในอันที่จะรักษาข้อมูลการค้าไว้เป็นความลับ แต่ไม่มีขั้นตอนในการจดทะเบียนหรือแจ้งให้ทางราชการทราบ ในกรณีที่เป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือขาย ซึ่งยาหรือเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร (Agricultural chemical product)
ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติความลับทางการค้าอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ได้ออกใช้บังคับเป็นกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ตามร่างกฎหมายดังกล่าว ความลับทางการค้า เช่น สูตรหรือเคล็ดลับของธุรกิจการค้า ข้อมูลที่เป็นรายชื่อหรือรายการเกี่ยวกับลูกค้าในธุรกิจประเภทต่าง ๆ ได้รับการคุ้มครองมิให้บุคคลอื่นนำไปเปิดเผยหรือใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ทรงสิทธิ ความลับทางการค้าที่จะได้รับการคุ้มครองนั้นผู้ควบคุมความลับดังกล่าวจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่สมควรในอันที่จะรักษาข้อมูลการค้าไว้เป็นความลับ แต่ไม่มีขั้นตอนในการจดทะเบียนหรือแจ้งให้ทางราชการทราบ ในกรณีที่เป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือขาย ซึ่งยาหรือเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร (Agricultural chemical product)
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์
หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้ แทนแหล่งภูมิศาสตร์
และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าคุณภาพ ชื่อเสียง
หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น มีดอรัญญิก ส้มบางมด ผ้าไหมไทย
แชมเปญ คอนนัค เป็นต้น
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
(Intellectual Property Rights)
ตามปกติ เจ้าของสิทธิใดมีสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นอยู่แล้ว แต่ความสำคัญของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอยู่ที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญามีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive rights) ในการที่จะหวงห้ามไม่ให้ผู้อื่นมาใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญานั้น และในขณะเดียวกัน เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาก็มีสิทธิที่จะอนุญาต (License) ให้บุคคลอื่นมาใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญานั้นได้
ตามปกติ เจ้าของสิทธิใดมีสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นอยู่แล้ว แต่ความสำคัญของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอยู่ที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญามีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive rights) ในการที่จะหวงห้ามไม่ให้ผู้อื่นมาใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญานั้น และในขณะเดียวกัน เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาก็มีสิทธิที่จะอนุญาต (License) ให้บุคคลอื่นมาใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญานั้นได้
การได้มาซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอาจได้มาได้หลายทางด้วยกัน คือ
๑) สร้างสรรค์หรือคิดค้นขึ้นมาเอง(Make or create)
๒) พัฒนาขึ้นมา (Develop)
๓) ขออนุญาตใช้สิทธิ (License)
๔) รับโอนสิทธิจากผู้อื่น (Assign)
๑) สร้างสรรค์หรือคิดค้นขึ้นมาเอง(Make or create)
๒) พัฒนาขึ้นมา (Develop)
๓) ขออนุญาตใช้สิทธิ (License)
๔) รับโอนสิทธิจากผู้อื่น (Assign)
ลิขสิทธิ์กับการประกอบธุรกิจ
งานอันมีลิขสิทธิ์ทั้ง ๙ ประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานวรรณกรรม, นาฏกรรม, ศิลปกรรม, ดนตรีกรรม, โสตทัศนวัสดุ, ภาพยนตร์,
สิ่งบันทึกเสียง, แพร่เสียงแพร่ภาพ และงานอื่นในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ ต่างเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ และส่วนใหญ่ก็เกี่ยวข้องกันโดยตรงอยู่แล้ว งานอันมีลิขสิทธิ์ที่จะขอพูดถึงเป็นพิเศษก็คือ งานศิลปประยุกต์ ซึ่งจัดอยู่ในประเภทศิลปกรรม งานศิลปประยุกต์ หมายถึง งานวาดเขียน, แกะสลักหรือปั้น, ภาพพิมพ์, สถาปัตยกรรม, ภาพถ่าย และแผนที่ ซึ่งนอกจากจะสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อชื่นชมในคุณค่าของตัวงานแล้ว
ยังนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น นำไปใช้สอย, ตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้ หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า
งานอันมีลิขสิทธิ์ทั้ง ๙ ประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานวรรณกรรม, นาฏกรรม, ศิลปกรรม, ดนตรีกรรม, โสตทัศนวัสดุ, ภาพยนตร์,
สิ่งบันทึกเสียง, แพร่เสียงแพร่ภาพ และงานอื่นในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ ต่างเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ และส่วนใหญ่ก็เกี่ยวข้องกันโดยตรงอยู่แล้ว งานอันมีลิขสิทธิ์ที่จะขอพูดถึงเป็นพิเศษก็คือ งานศิลปประยุกต์ ซึ่งจัดอยู่ในประเภทศิลปกรรม งานศิลปประยุกต์ หมายถึง งานวาดเขียน, แกะสลักหรือปั้น, ภาพพิมพ์, สถาปัตยกรรม, ภาพถ่าย และแผนที่ ซึ่งนอกจากจะสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อชื่นชมในคุณค่าของตัวงานแล้ว
ยังนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น นำไปใช้สอย, ตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้ หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า
สิทธิบัตรกับการประกอบธุรกิจ
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และ Know-how ในการผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ (Packaging) โดยตรง แต่ในการขอรับสิทธินั้นมีขั้นตอนและใช้เวลาค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถขอรับ
อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) ซึ่งเป็นการคุ้มครองการประดิษฐ์ที่มีเทคโนโลยีไม่สูงพอที่จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ แต่ใช้ประโยชน์ได้ดีในสภาพการใช้งานจริงในประเทศไทย และเหมาะสมแก่ระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของนักประดิษฐ์ไทยในการขอรับอนุสิทธิบัตรมีขั้นตอนและใช้เวลาน้อยมากหากผ่านการพิจารณาแล้วทางราชการจะจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกอนุสิทธิบัตรให้ โดยไม่ต้องมีการประกาศโฆษณาคำขอรับอนุสิทธิบัตรเพื่อให้มีการคัดค้านหรือตรวจสอบการประดิษฐ์ก่อนอนุสิทธิบัตรมีอายุการคุ้มครอง ๖ ปี นับแต่วันขอรับอนุสิทธิบัตร แต่สามารถต่ออายุได้ ๒ คราว คราวละ ๒ ปี
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และ Know-how ในการผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ (Packaging) โดยตรง แต่ในการขอรับสิทธินั้นมีขั้นตอนและใช้เวลาค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถขอรับ
อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) ซึ่งเป็นการคุ้มครองการประดิษฐ์ที่มีเทคโนโลยีไม่สูงพอที่จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ แต่ใช้ประโยชน์ได้ดีในสภาพการใช้งานจริงในประเทศไทย และเหมาะสมแก่ระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของนักประดิษฐ์ไทยในการขอรับอนุสิทธิบัตรมีขั้นตอนและใช้เวลาน้อยมากหากผ่านการพิจารณาแล้วทางราชการจะจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกอนุสิทธิบัตรให้ โดยไม่ต้องมีการประกาศโฆษณาคำขอรับอนุสิทธิบัตรเพื่อให้มีการคัดค้านหรือตรวจสอบการประดิษฐ์ก่อนอนุสิทธิบัตรมีอายุการคุ้มครอง ๖ ปี นับแต่วันขอรับอนุสิทธิบัตร แต่สามารถต่ออายุได้ ๒ คราว คราวละ ๒ ปี
เครื่องหมายการค้ากับการประกอบธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมต่างเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจโดยตรงอยู่แล้วเพราะสินค้าหรือบริการจะต้องมี ยี่ห้อ ให้เรียกขานเพื่อบอกความแตกต่างบอกแหล่งที่มา บอกคุณภาพ และเพื่อประโยชน์ในการโฆษณา หรือส่งเสริมการขายเครื่องหมายเหล่านี้จะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อมีการ
จดทะเบียนเครื่องหมายต่อทางราชการแล้ว อย่างไรก็ตาม เครื่องหมายที่ไม่ได้จดทะเบียนก็อาจได้รับการคุ้มครองในบางระดับ เช่น เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายนั้นขึ้นมาและใช้อยู่ก่อนแล้ว หรือใช้จนกระทั่งมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป (Well-known marks)
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมต่างเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจโดยตรงอยู่แล้วเพราะสินค้าหรือบริการจะต้องมี ยี่ห้อ ให้เรียกขานเพื่อบอกความแตกต่างบอกแหล่งที่มา บอกคุณภาพ และเพื่อประโยชน์ในการโฆษณา หรือส่งเสริมการขายเครื่องหมายเหล่านี้จะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อมีการ
จดทะเบียนเครื่องหมายต่อทางราชการแล้ว อย่างไรก็ตาม เครื่องหมายที่ไม่ได้จดทะเบียนก็อาจได้รับการคุ้มครองในบางระดับ เช่น เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายนั้นขึ้นมาและใช้อยู่ก่อนแล้ว หรือใช้จนกระทั่งมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป (Well-known marks)
ทรัพย์สินทางปัญญากับการผลิต
การประกอบธุรกิจในปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเกี่ยวข้องเกือบจะทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หรือค่อนข้างใหญ่ คอมพิวเตอร์ในส่วนของซอฟต์แวร์ เป็นเรื่องของลิขสิทธิ์ ส่วนฮาร์ดแวร์เป็นเรื่องของสิทธิบัตร ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ต่างก็มี ยี่ห้อ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเครื่องหมายการค้า คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนก่อนเริ่มธุรกิจ การผลิต การตลาด การบริหารงานบุคคล รวมทั้งการเงินและบัญชีเฉพาะในส่วนของการผลิตนั้น ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง กล่าวคือ หากท่านต้องการจะผลิตสินค้าใด ท่านจะต้องมีสิทธิและรู้วิธีการในการผลิตนั้น
การประกอบธุรกิจในปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเกี่ยวข้องเกือบจะทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หรือค่อนข้างใหญ่ คอมพิวเตอร์ในส่วนของซอฟต์แวร์ เป็นเรื่องของลิขสิทธิ์ ส่วนฮาร์ดแวร์เป็นเรื่องของสิทธิบัตร ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ต่างก็มี ยี่ห้อ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเครื่องหมายการค้า คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนก่อนเริ่มธุรกิจ การผลิต การตลาด การบริหารงานบุคคล รวมทั้งการเงินและบัญชีเฉพาะในส่วนของการผลิตนั้น ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง กล่าวคือ หากท่านต้องการจะผลิตสินค้าใด ท่านจะต้องมีสิทธิและรู้วิธีการในการผลิตนั้น
ทรัพย์สินทางปัญญากับการตลาด
การประกอบธุรกิจในขั้นตอนการตลาดนั้น
เกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง
หรือเครื่องหมายร่วมโดยตรง
ไม่ว่าท่านจะส่งสินค้าหรือบริการไปขายเฉพาะในประเทศหรือทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยก็ตาม
เมื่อท่านประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์และสินค้ามีคุณภาพเหมาะสมกับราคา ย่อมทำให้
ยี่ห้อ
ของสินค้าหรือบริการของท่านเป็นที่รู้จักและนิยมซื้อมาใช้
ทำให้ท่านสามารถทำการตลาดได้โดยง่ายและรวดเร็ว ในบางกรณี แม้เพียงมีการพูดถึง
ยี่ห้อ ของสินค้าหรือบริการใด ผู้คนก็นึกถึงสินค้าหรือบริการของท่านทันที
การนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจ
การตัดสินใจว่าจะนำทรัพย์สินทางปัญญาใดไปใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจหรือไม่ ถือเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์(Strategic Decision) ซึ่งจะต้องพิจารณาลักษณะ ขนาด และขอบเขตของธุรกิจว่า เป็นธุรกิจอะไร ขนาดใหญ่หรือเล็ก และจะทำธุรกิจเฉพาะภายในประเทศ หรือทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้เต็มรูปแบบเกี่ยวพันกับความสามารถขององค์กรธุรกิจนั้น ๆ หลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเงินและเวลา เนื่องจากการขอรับการคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญาบางประเภทจะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก
การตัดสินใจว่าจะนำทรัพย์สินทางปัญญาใดไปใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจหรือไม่ ถือเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์(Strategic Decision) ซึ่งจะต้องพิจารณาลักษณะ ขนาด และขอบเขตของธุรกิจว่า เป็นธุรกิจอะไร ขนาดใหญ่หรือเล็ก และจะทำธุรกิจเฉพาะภายในประเทศ หรือทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้เต็มรูปแบบเกี่ยวพันกับความสามารถขององค์กรธุรกิจนั้น ๆ หลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเงินและเวลา เนื่องจากการขอรับการคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญาบางประเภทจะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก